null

รู้จักกับ ‘โรคภูมิแพ้ผิวหนัง’ (Atopic Dermatitis)

เชื่อว่าหนึ่งในปัญหาที่คุณพ่อและคุณแม่จำนวนไม่น้อยต้องประสบพบเจอคือปัญหาโรคผิวหนังที่เกิดกับลูกน้อยของคุณ โดยเฉพาะ ‘โรคผื่นแพ้ผิวหนัง’ หรือ Atopic Dermatitis ที่พบได้ถึง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคผิวหนังทั้งหมด เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลใจให้ไม่น้อย จนหลายคนสงสัยว่าเพราะอะไรลูกน้อยจึงเกิดอาการนี้ และจะมีวิธีการดูแลรักษาอย่างไรบ้าง เราจึงรวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคนี้ไว้ที่นี่

 

Atopic Dermatitis
สาเหตุของโรคผื่นแพ้ผิวหนัง

โรคผื่นแพ้ผิวหนังนั้นมีสาเหตุหลักจากปัจจัยด้านพันธุกรรม ส่วนหนึ่งคือร่างกายผลิตไขมันระหว่างเซลล์ผิวและสารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติได้น้อยกว่าปกติ

นอกจากนี้กว่า 70% ของผู้ป่วยมาจากครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ อย่างไรก็ตามปัจจัยภายนอกอย่างเชื้อโรค ฝุ่น อากาศ สารเคมีต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งเสื้อผ้าที่เด็กใส่ก็กระตุ้นให้เกิดอาการได้เช่นกัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะบางครั้งน้ำยาซักผ้าที่ใช้สำหรับเด็กก็อาจทำร้ายผิวลูกน้อยโดยไม่รู้ตัวก็ได้


ผิวของคนปกติที่ไร้ซึ่งภาวะภูมิแพ้จะประกอบด้วย

  1. เซลล์ผิวหนัง (Corneocyte) สิ่งนี้เปรียบได้ดังปราการด่านแรกที่ปกป้องผิวจากสิ่งเร้าและสิ่งแปลกปลอมต่าง
  2. ชั้นไขมัน จะทำหน้าที่โอบอุ้มความชุ่มชื้นในผิวหนัง ทำให้เซลล์ผิวหนังสามารถปกป้องร่างกายอย่างเต็มประสิทธิภาพ

แต่เมื่อโรคผื่นแพ้ผิวหนังเกิดขึ้น สิ่งที่เรียกว่า ‘เซราไมด์ (Ceramide)’ ที่มีหน้าสำคัญในการรักษาความชุ่มชื้นในชั้นไขมันจะมีจำนวนลดลง รวมทั้งปริมาณของฟิลากริน (Filaggrin) หรือสารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ (Natural Moisturizing Factor, NMF) ที่อยู่ในเซลล์ผิวหนังก็จะลดลงด้วย เมื่อทั้งสองอย่างนี้ลดลง ผิวจึงสูญเสียความชุ่มชื้น จนเกิดอาการแห้งและคัน ยิ่งเกาก็จะเกิดอาการอักเสบได้ในเวลาต่อมา


ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่าย ในชั้นผิวหนังของเรามี “เซลล์ผิวหนัง” เรียงตัวคล้ายกำแพงอิฐอยู่ โดยมีไขมันที่เปรียบเสมือนปูนที่ทำให้กำแพงเกาะตัวกัน โดยผิวจะมีการผลัดเซลล์ผิวและสร้างใหม่อยู่สม่ำเสมอ ถ้าชั้นผิวหนังมีความแข็งแรง สิ่งแปลกปลอมจะเข้าสู่ผิวได้ยาก ผิวจึงไม่เกิดอาการอักเสบหรือระคายเคือง แต่หากชั้นผิวเราขาดความชุ่มชื้น ผิวจะมีความบอบบาง สิ่งแปลกปลอมสามารถเข้าสู่ชั้นผิวได้ง่าย จึงเกิดอาการแตก ลอก แห้งคัน และผื่นแดงในเวลาต่อมาได้ 

อาการของโรคผื่นแพ้ผิวหนัง

เมื่อผิวของเด็กทำปฏิกิริยากับสภาพแวดล้อมไวเกินไปก็จะเกิดอาการแห้งและคัน เมื่อรู้สึกคันมากเด็กจะเกาจนเกิดผื่นลามไปเรื่อย ๆ หลังจากเกิดอาการของผื่นจนถึงขั้นเรื้อรังจะมีลักษณะผื่นเป็นปื้น มีตุ่มแดงนูน บางรายอาจถึงขั้นมีน้ำเหลืองไหลจนแห้ง สะเก็ดแข็ง และมีลักษณะเป็นขุย


เคล็ดลับการดูแลรักษาโรคผื่นแพ้ผิวหนัง

ภาวะผื่นแพ้ผิวหนังมักทำให้ลูกมีอาการคันยุกยิก ไม่สบายตัว ร้องไห้งอแง ไม่อยากออกไปเล่น ออกไปเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือในวัยเรียนก็อาจขาดสมาธิ จนพัฒนาการอาจสะดุดได้ ดังนั้นเพื่อให้ลูกเป็นเด็กสดใสร่าเริง มีพัฒนาการสมวัย คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องการดูแลผิวของลูก ตามเคล็ดลับนี้เลย   


ดูแลผิวลูกในช่วงกลางวัน สนุกกับกิจกรรมได้เต็มที่


•     อุณหภูมิในห้องนั่งเล่น ต้องมีความสมดุล หากเปิดพัดลมควรเปิดแบบส่ายไปมาทั่วบริเวณที่ลูกเล่น และควรเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศด้วย หากคุณแม่เปิดเครื่องปรับอากาศ ควรควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ 25-27 องศาเซลเซียส และไม่ควรเปิดทั้งวันทเพราะเครื่องปรับอากาศมักทำให้ผิวของลูกแห้งและอาจทำให้ป่วยได้ง่าย


•     บริเวณที่ลูกเล่น ต้องสะอาด หมั่นดูดฝุ่นและเช็ดทำความสะอาดพื้น ซึ่งบริเวณที่ลูกมักลงไปนอนเล่น กลิ้งตัวไปมามากที่สุด อีกทั้งเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ที่เก็บฝุ่นคุณแม่ควรทำความสะอาดบ่อยครั้ง เช่น โซฟา เบาะ พรม


•     เสื้อผ้าที่ลูกใส่ ต้องมั่นใจไม่มีสารตกค้าง ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนในการซักผ้าของลูกน้อย เพราะปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายทำร้ายผิวบอบบางของลูกให้ระคายเคือง อาจล้างน้ำเปล่าสองครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าหมดจด


ดูแลผิวลูกในช่วงกลางคืน นอนหลับเต็มอิ่ม


•     ทามอยซ์เจอไรเซอร์ ผิวต้องชุ่มชื้นก่อนเข้านอน ผิวแห้ง อาการคัน ปราบได้ด้วยการบำรุง การมอบความ ชุ่มชื้นให้ผิวลูก แนะนำคุณแม่เลือกบำรุงด้วยมอยซ์เจอไรเซอร์ ที่มาพร้อมความเข้มข้น ควรเลือกสูตรอ่อนโยนที่คิดค้นมาเพื่อผิวของเด็กโดยเฉพาะ ทาหลังอาบน้ำในตอนเย็น ความสบายผิวจะช่วยให้ลูกหลับสนิทตลอดคืน


•     อุณหภูมิในห้องนอน ต้องเย็นสบาย ไม่อับชื้น ควบคุมอุณหภูมิในห้องนอนให้พอเหมาะ ไม่หนาวเย็นเกินไปจนทำให้ลูกไม่สบาย และผิวแห้ง ไม่ร้อนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกมีเหงื่อ เกิดความอับชื้นบริเวณข้อพับ ทำให้เกิดอาการคัน จนมีผื่นแพ้ตามมาได้ ควรหาเครื่องฟอกอากาศมาตั้งไว้ในห้องนอน เพื่อช่วยให้ลูกหลับสบายมากขึ้น 


•     ผ้าปูที่นอน ต้องระบายอากาศดี เปลี่ยนผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม ปลอกหมอน ปลอกหมอนข้าง รวมถึงนำตุ๊กตาของลูก ไปซัก ตากแดดให้แห้งสนิท สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อสุขอนามัยที่ดี และควรเลือกเครื่องนอนที่เป็นผ้าโปร่ง ระบายอากาศได้ดี เพื่อให้ผิวลูกไม่อับชื้น และอ่อนโยนต่อผิว เช่น ผ้าปูที่นอนจากเส้นใยธรรมชาติ 100% 



•     หมั่นตัดเล็บ เพื่อให้ปลอดภัยจากการเกาของลูก คุณแม่ควรตรวจตราเล็บของลูกน้อยอยู่เสมอ ตัดให้สั้นอยู่เป็นประจำ เพื่อความสะอาด และป้องกันการเกาขณะหลับ จนอาจเกิดแผล ซึ่งจะทำให้ผิวลูกไม่สวยสดใสได้

Atopic Dermatitis

2 ขั้นตอนทำความสะอาดอย่างอ่อนโยน และฟื้นบำรุงผิวอย่างมีประสิทธิภาพ


การอาบน้ำที่สะอาด คือจุดเริ่มต้นของผิวสุขภาพดี แต่สำหรับผิวบอบบาง แพ้ง่ายของลูกนั้น คุณแม่ต้องมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่ใช้อ่อนโยนจริง ขอแนะนำให้ใช้ Cetaphil Pro AD Derma Skin Restoring Wash ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวกาย เนื้อครีมเข้มข้น ผสานคุณค่าวิตามินอี วิตามินบี 3 พร้อมนวัตกรรม Patented Filaggrin Technology ช่วยฟื้นคืนความแข็งแรงให้เกราะป้องกันผิวตามธรรมชาติ


เคล็ดลับแบบฉบับคุณแม่มือโปร ควรให้ลูกอาบน้ำในอุณภูมิที่พอเหมาะ ฤดูหนาวให้อาบน้ำอุ่นในระดับปกติ เพราะน้ำที่ร้อนเกินไปจะทำให้ผิวแห้ง และทำลายเกราะปกป้องผิวลูก ฤดูร้อนควรให้อาบน้ำอุณหภูมิห้อง และควรให้ลูกใช้เวลาอาบน้ำไม่เกิน 10 นาที เพราะการแช่น้ำเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้ป่วยได้ง่าย



และหลังจากใช้ผ้าขนหนูซับตัวให้ลูกจนแห้งสนิทแล้ว บำรุงต่อด้วย Cetaphil Pro AD Derma Skin Restoring Moisturizer​ โลชั่นบำรุงผิว สำหรับผิวแห้ง คันมาก โดยเฉพาะ ฟื้นคืนความแข็งแรงให้ผิวกักเก็บความชุ่มชื้นได้ยาวนานยิ่งขึ้นด้วยนวัตกรรม Patented Filaggrin Technology™ ช่วยฟื้นคืนความแข็งแรงให้เกราะป้องกันผิวตามธรรมชาติให้ผิวชุ่มชื้นและสุขภาพดี ปราศจากน้ำหอม พาราเบน และส่วนผสมของสบู่ พร้อมสูตรไฮโปอัลเลอร์เจนิก ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง